เจ้าคุณเบอร์ลินชี้ ! แก้ กม.สงฆ์ ม.7 ปกครองสงฆ์ถึงกาลล่มสลาย?
แก้ไขมาตรา 7 ของกฤษฎีกา
คือบันไดสู่การรื้อทิ้ง
การปกครองคณะสงฆ์
จุดจบ และความเสื่อมสลาย
แห่งพระพุทธศาสนาในไทย
"บทความเพื่อปกป้องพระศาสนา"
ขออนุญาตรายงานตัวผมเจ้าคุณเบอร์ลินครับ
เข้าเรื่องเลยนะครับ เดี๋ยวจะไม่ทันการณ์
โพสต์นี้ ก่อนอื่นต้องขอกล่าวว่า ..
ต่อแต่นี้ไป สังคมไทย
ที่ไม่เฉพาะแต่คณะสงฆ์เท่านั้น
รวมหมดทั้งชาวพุทธทั่วประเทศไปด้วย
นั้นคือในขณะนี้ ประเทศไทยเรา
ปรากฏมีเรื่องสำคัญ ระดับการที่อาจทำให้
การมีอยู่ หรือเสื่อมสลาย
ของพระพุทธศาสนา
ในประเทศไทยไปเลยที่เดียว
ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ ชาวพุทธทุกคน
มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องให้ความสนใจ
และติดตามอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิด
นั้นก็คือเรื่อง ..
"การรีบร้อน และเร่งรัด เพื่อแก้ไข
มาตรา 7 หมวด พระสังฆราช
แห่ง พรบ. สงฆ์
ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา
กำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ในขณะนี้"
อยากขอให้ช่วยกันพิจารณาอ่าน
และช่วยกันแชร์ บทความในโพสต์นี้
ให้มากที่สุดนะครับ เพื่อสกัดกั้น.!
ขบวนการทำลายสถาบันพระศาสนาอย่าให้ทำการสำเร็จ และเพื่อความอยู่รอด
ของพระศาสนาในผืนแผ่นดินไทยต่อไป
อย่างน้อยในเบื้องต้น ก็เพื่อจะได้เตือนสติ
ผู้เกี่ยวข้อง ให้ยั้งสติ ให้พิจารณาให้ถี่ถ้วน
ให้รอบคอบเสียก่อน ในการดำเนินการใดๆ
ในการแก้ไข พรบ. สงฆ์ ฉบับปัจจุบันนี้.!
ก่อนที่จะกลายเป็นต้นเหตุ
แห่งการเสื่อมสลายของพระพุทธศาสนา
ในประเทศไทยไป..ในที่สุด
เข้าเรื่อง
เร่งแก้ไข มาตรา 7
กฤษฎีกา มีเหตุผลอะไร?
ก็ต้องถือว่า "เปล่งๆ แปลกๆ กลิ่นทะเม่งๆ "ยังไงชอบกล ในการกลับมาอีกครั้ง
กับความพยายามในการแก้ไข ม. 7
ของผู้มีอำนาจในครั้งนี้
ไอัพฤติกรรมการดำเนินการ
ที่มีลักษณะเร่งรัดเร่งรีบ เล็ดลอด
คาบสถานการณ์ปัญหาร้อน
ของธรรมกายในวันนี้
อย่างพอดิบพอดีนั้น.?
ทำให้เกิดความ..
ชอบกล ต่อหน่วยงานที่เรียกว่ากฤษฎีกา
ไม่ได้ครับ.?
ทั้งเข้าข่ายทำลับๆ ล่อๆ ไปเสียด้วย.!
เพราะแม้แต่คณะสงฆ์เอง
คือมหาเถรสมาคม
ก็ยังไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อนด้วยแล้ว
ก็ยิ่ง "ความพิลึก" เข้าไปใหญ่.!
ที่เจ้าคุณเบอร์ลิน ต้องรีบหยิบมาพูด
เพื่อย้ำอีกครั้งนั้นเพราะผมพิจารณา
ตรองกลับไปกลับมา ถึงเหตุผลข้อว่า ..
มันเกิดอะไรขึ้น ทำไม?
ผู้มีอำนาจจึงวนเวียน
พากันพยายามอยู่กับการแก้ไข
มาตรา 7 แห่ง พรบ. สงฆ์ กันนัก.??
หรือจะเป็นเพราะการเพียรพยายาม
ในการแก้ไข มาตรา 7 ครั้งนี้
ก็เพื่อเป็นบันไดก้าวไปสู่
ขบวนการหนึ่ง ในการ..
"รื้อการปกครองคณะสงฆ์ทิ้งทั้งหมด"ดังเช่น ที่ครูบาจารย์ท่านเคยบอกไว้ว่า..
"ให้ช่วยกันระวัง ให้จับตาดูดีๆ ไว้ใจไม่ได้"
คิดไปคิดมา ผมจึงเกิดอาการรู้สึกเย็นเสียววูบ
ถึงไขสันหลัง จู่ๆ ขนหัวลุกซู่ขึ้นอย่างแรง
(อุทานในใจ) ว่า..
"อ้าว ไอ้ห่..ลาก ระยำแล้วไหมล่ะ .!
นั่นมันจุดจบ จุดล่มสลายแห่งคณะสงฆ์
และพระพุทธศาสนาเลยเชียวนะเว้ยเห้ย
คิดได้ไงนี่.?
เพราะนั่นมัน เป็นจุดจบที่อาจถึง
กาลเสื่อมสลายเลยนะนี่!
พวกมึงบ้าไปเปล่า? บาปมหันต์นะมึง
ความรู้สึกแรกของผมแบบนี้
ผมอยากให้ทุกท่าน
ได้ลองเอาหัวใจรักพระพุทธศาสนา
และความรักชาติมาเป็นที่ตั้ง
แล้วจงได้โปรดตั้งสติพิจารณาเรื่องที่ว่านี้
ดีๆ เถิด.. แล้วทุกท่านจะมีอาการเดียวกับผมครับ
พระสงฆ์อย่านิ่งเฉย
หายนะของ พระพุทธศาสนา
กำลังมาถึง..
ในบางที.. พระสงฆ์องค์เณรในมืองไทยอาจรู้สึกเฉยๆ ไม่รู้ร้อนรู้หนาว
ไม่รู้สึกรู้สาอะไรนัก
ขอแค่ได้บิณฑ์-บัง-สัง-สวด ไปวันๆ
ก็พอแล้ว ไม่เห็นต้องเดือดร้อนอะไรเลย.!
หรือพระบางรูปบางองค์ อาจหลับตา
เพ้อพก แบบพวกโลกสวยไปว่า ..
"พระศาสนาศักดิ์สิทธิ์
ใครทำกับพระศาสนา
เดี๋ยวผีปู่ผีย่าก็หักคอมันเอง
คนที่ทำกับศาสนา
ฉิบหายไปนักต่อนักแล้ว"
ส่วนมากพระสงฆ์เรา มักคิดแบบนี้
แล้วก็บอกว่า..
"เป็นพระต้องสำรวม ต้องเมตตา
การบริหารบ้านเมืองเป็นเรื่องฆราวาส"
อะไรไปโน้น..หากรูปใดคิดได้เพียงแค่นี้
ผมก็นิมนต์เลยครับหลวงพ่อ หลวงพี่
นิมนต์ สัคเค ฯลฯ ป่าวประกาศ
คอยให้เทวดามาช่วยก็แล้วกัน.!
คือผมอยากจะให้พระสงฆ์เราทุกรูป
ได้มีความตื่นตัว ตื่นจากจำวัตรสักที
ตื่นมามองโลกรอบๆ ว่า ..
"เขาไปกันถึงไหนๆ แล้ว
เราจะอยู่แบบเก่า ไม่ปรับตัวไม่ได้"
นำล่องให้แล้ว : วิธีดำเนินการ
ส่วนเจ้าคุณเบอร์ลิน ขอก่อนสักดอกสองดอกเตือนสติกัน เพื่อนำล่องให้พระหนุ่มเณรน้อยเรา
เพื่อให้เป็นตัวอย่างครับ..
วันนี้ จึงขอตีกระโหลกเบาๆ แบบหลวงตาใจดี
ให้ผู้มีอำนาจได้สติก่อน หากยังกระโหลกหนา
ไม่รู้สำนึกละก็..มาตรการเข้มๆ อื่นๆ
จะค่อยทะยอยมาเป็นระยะๆ
ว่ากันทีหลัง ตามลำดับแน่นอนครับ
เพราะผมเป็นคนมีสัญชาตญาณพิเศษ
ด้านนี้ครับ อาจารย์ท่านสอนไว้ดีครับ
โดยเฉพาะถ้าเป็นเรื่องพระศาสนา
ถือเป็นเรื่องความเป็นความตายสำคัญสุด
ผมมักรับรู้เร็ว..
ท่านบอกเสมอว่า..
ยิ่งต้องระแวดระวังมากเป็นร้อยเท่า
ทบทวีคูณ จะมัวหลับหูหลับตา
มารอพึ่งผีสางเทวดาช่วยคงไม่ได้แล้วครับ
คิดจะแก้กฎหมายสงฆ์ จงตรองให้หนัก
กว่ากฎหมายทั่วไป
ปกติอันการแก้ไขกฏหมายนั้น
ถ้าตามปกติในการออกกฎหมาย
หรือจะมีการแก้ไขกฎหมายที่ใช้บังคับ
ก็จะต้องมีเหตุผลรองรับ อธิบายได้
เบื้องต้น โดยความชอบธรรม
ก็จะต้องเริ่มต้นจากหน่วยงาน
หรือผู้มีหน้าที่รักษาการตาม พรบ.
นั้นๆ "เป็นผู้เสนอเหตุผล"
ในการจัดให้มีการแก้ไขก่อนว่า ..
"มีเหตุผลอย่างไร ถึงต้องออกกฎหมาย
หรือมีปัญหาใดๆ ในการบังคับใช้กฎหมาย
มาตรานั้นๆ ถึงต้องแก้ไข"
ยิ่งถ้าเป็นเรื่องกฏหมายที่เกี่ยวกับ
พระศาสนา เกี่ยวกับปกครองสงฆ์แล้ว
ก็ยิ่งต้องระวังให้มาก.!
มากกว่า.. การแก้กฎหมายทั่วไป
เพราะกฎหมายสงฆ์นั้น มีความละเอียดอ่อน
มีความเนื่องด้วย เกี่ยวข้องด้วย
กับหลายฝ่าย หลายอย่าง..
ทั้งโยงใยไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
และเกี่ยวเนื่องกับพระธรรมวินัย เป็นต้น
ดังนั้น.. ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ปกครองแผ่นดิน
มาแต่อดีต ท่านจึงถือนักหนาว่า
"กฏหมายเกี่ยวกับพระศาสนา
แม้วรรคเดียว ตอนเดียว
หากเขียนด้วยความไม่เข้าใจ
อาจถึงขั้น..
เป็นผลให้พระศาสนาล่มสลายได้
อะไรที่เกี่ยวกับพระศาสนา
จึงต้องให้พระท่านรับรู้ด้วย"
ใครเสนอแก้ พรบ. 2505
จะแก้กันง่ายๆ หรือ?
ในการที่มี นสพ. รายงานข่าวว่าจะมีการขอแก้ไขกฎหมาย
พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 นี้นั้น
(แนบไทยรัฐมาด้วยแล้ว)
มีข้อที่ผู้มีอำนาจพึงสังวรไว้เสมอว่า
กฏหมายฉบับนี้
เป็นกฎหมายปกครองสงฆ์โดยเฉพาะ
ไม่ใช่กฏหมายปกครองฆราวาส
เมื่อออกกฏหมายมาแล้ว
มีผลโดยตรงต่อคณะสงฆ์
หมายความว่า มีผลโดยตรงต่อ
ความวัฒนาสถาพร หรือความล่มสลาย
แห่งพระพุทธศาสนานั่นหมายถึงว่า
ในวันนี้..
พระพุทธศาสนาจะอยู่
หรือจะล่มสลาย
ก็เพราะกฏหมายฉบับนี้แหละ..!!
ถ้าจะแก้จริงๆ ผู้เสนอแก้ต้องมหาเถรสมาคม
เท่านั้น (เน้น)..ขอเน้นก่อนว่า..
หน่วยงานที่จะเสนอขอแก้ไข
กฎหมาย พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 นี้
จึงควรเป็น "มหาเถรสมาคม" เท่านั้น!
"ซึ่ง มส. นี้เป็นองค์กรปกครองสงฆ์สูงสุด"
และเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองคณะสงฆ์
โดยตรง ตามกฎหมายฉบับนี้
ส่วนหน่วยงานรองลงไปก็คือ
"สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ"
ที่อาจจะเสนอขอแก้ไขได้
ในมาตราที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่
ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ว่ามีเหตุขัดข้องตรงไหนโดยเสนอความเห็น
ไปยังมหาเถรสมาคม ตามลำดับ.!
นี่คือขั้นตอน
โดยชอบธรรมชอบวินัย
ที่ยึดมาตลอด และควรยึดถือ
เคร่งครัดต่อไป.!
ในลำดับสุดท้าย คือรัฐมนตรีว่าการผู้รักษาการตามกฎหมายนี้ ที่หากเห็นว่า ..
"พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
มีปัญหาตรงไหน ในการรักษาการ
ตามกฎหมายนี้ อยากเสนอแก้ไข
ก็ต้องทำสิ่งเดียวกัน"
ตรงนี้ ซึ่งทั้งหลายทั้งปวง
ก็ต้องแจ้งให้ มหาเถรสมาคม
รับรู้ด้วยว่า.. จะทำอะไร.??
ไม่ใช่ไม่เห็นหัวเห็นหางอย่างที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อไปแล้ว!
อย่างนี้มันมีพฤติกรรมเยี่ยงโจร
หรือแอบตีท้ายครัว บัณฑิตไม่ควรทำกัน
อีกทั้งพิจารณาอย่างไร มันก็ไม่ใช่แสดงถึง
"กุศลเจตนาใดๆ ต่อคณะสงฆ์เลย"
ขอตั้งข้อสังเกตเป็นปฐม
ผมเจ้าคุณเบอร์ลิน ขอถามตรงๆ ว่า ..
"การที่จู่ๆ แบบฝนไม่ได้ตั้งเค้าใดๆ เลย
ชาวพุทธ ชาวสงฆ์ท่านก็ไม่รู้เรื่องด้วย"
แต่ทางรัฐบาล หรือใครก็ตามที่มีอำนาจ
จะสั่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา
ไปดำเนินการพิจารณาแก้ไข พรบ.สงฆ์ ม.7
นี้นั้น..
ถามหนักๆ ว่า..
รัฐบาลหรือใครคนนั้น.?
มีความจำเป็นอย่างไร.?
ช่วยแจงให้กระจ่างที่เถิด
สังคมพุทธจะได้แจ้ง.!
พฤติกรรมหลบๆ ซ่อนๆ แบบนี้
ถ้าพูดตามเจ้าคุณเบอร์ลิน
แบบบ้านๆ ก็ว่า ..
"ก็ทำไมละครับ พระท่านก็อยู่ของท่านดีๆ
อยู่แล้วใช้ พรบ. สงฆ์ มาตั้งแต่
รัชกาลที่ 5 โน้นแล้ว.!
พวกมึงมันจะมาเดือดร้อนอะไร
กับกฏหมายพระนักหนา
ไอ้เวรตะไลโลกเอ้ย !!! (เหลืออด)
มันหนักหัวกะบาลอะไรพวกมึงกันหนักหนา
แหม...อยู่ดีไม่ว่าดี ดันจะพากันหาแต่เรื่องทำ
ให้ไปนรกได้ทุกวัน.!
มาบั่นท่อนอายุพระศาสนาทำห่..อะไร ..ไอ้เวร..
(ด่าดีนะครับ คือไม่อยากให้ตกนรก)
สำคัญ : พระราชอำนาจ
ผมจะบอกอะไร เพื่อให้สำเนียกในเบื้องต้นว่า..
ไอ้ที่ทำกันอยู่นี่ จะไม่เป็นการล่วงละเมิด
พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์กันหรือไง.?
พึงสังวร พึงสังวร และสำเนียกไว้นะครับ
เอาง่ายๆ แค่ว่างานนี้..
ฝ่ายคณะสงฆ์โดยมหาเถรสมาคม
ได้ร้องขอให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
หรือไม่ .?
อยากจะบอกต่อไปว่า ..อ้าว!!! ถ้าฝ่ายคณะสงฆ์
โดยมหาเถรสมาคมท่าน ไม่ได้ร้องขอ
แล้วพวกมึง ..
เผือกหาพระแสง ด้ามยาวอะไร ไม่ทราบ.!
ตอบตรงนี้มาก่อนนะครับ
ท่านผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายที่พากันกระเสือกระสน
"เรื่องร้อนท้านรก" แบบนี้..
ก็ถ้า พรบ.ฉบับนี้ เป็นกฎหมาย ที่ว่าด้วย
"การปกครองสงฆ์" แล้ว
แต่ฝ่ายอาณาจักร เข้ามาจัดการ
แบบพูดเองเอาเอง โดยไม่แจ้ง
ให้ฝ่ายศาสนจักร ให้ทราบใดๆ เลยนั้น
เท่ากับว่า การดำเนินการเพื่อ
แก้กฎหมายมาตรานี้ ของกฤษฎีกา
ย่อมหมายถึงอะไรไปไม่ได้
นอกจาก..
เป็นการกระทำ ที่อาณาจักร
แทรกแซง ศาสนจักรอย่างร้ายแรง
ครั้งสำคัญ..ในประวัติศาสตร์ไปทันที!
ที่สำคัญ และประหลาดอย่างยิ่งก็คือ
การแก้ไขกฎหมายคณะสงฆ์ดังกล่าว
ในครั้งนี้ ดูเหมือนพยายามทำแบบปกปิด.!
เป็นความลับ ที่ทางฝ่าย "คณะสงฆ์"
ซึ่งจะเป็นผู้รับผลของกฏหมายฉบับนี้โดยตรง
กลับไม่เคยได้รับการสอบถามความคิดเห็น
หรือรับรู้เหตุผลในการที่ต้องแก้ไข
จากรัฐบาล..ใดๆ เลย.!
แต่แล้วอยู่ๆ ก็มีข่าวเล็ดรอดออกมาว่า
จะมีการแก้ไข พรบ. คณะสงฆ์เกิดขึ้น
แถมในหมวดสำคัญเสียด้วย
คณะสงฆ์เอง ก็ไม่เห็นร่างกฎหมาย
ที่จะแก้ไข ว่าเป็นอย่างไรด้วย..
ถามสักคำว่า..
คิดดีรอบคอบจริงแล้วหรือ.?.ครับท่าน!
ไม่ต้องตอบผม ให้ตอบตนเองก็ได้
ข้อเสนอแนะ
ไม่มีฝ่ายไหนทราบเรื่องมาก่อน..อันที่จริงตามปกติแล้วประเทศที่
"ไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อน"
จริงๆ นั้น..
การจะมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ
หรือจะการแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายทุกครั้ง
ก็จะต้องมีการทำประชาพิจารณ์
เสนอเหตุผลต่อประชาชน
ที่จะถูกกฎหมายใช้บังคับร่วมกันก่อน
จะต้องประชุมแล้ว ประชุมอีก
จนตกผลึกเป็นที่เข้าใจร่วมกัน
จึงค่อยตราออกมาใช้ หรือจึงค่อยแก้ไข
กฏหมายนั้นๆ
มาเปรียบเทียบครั้งนี้ ในกรณีดังกล่าวนี้
ที่เป็นกฎหมายปกครองสงฆ์ ด้วยนั้น
ก็ยิ่งต้องละเอียดมากขึ้นไปอีกหลายเท่า
เพราะโยงใยหลายอย่าง หลายฝ่าย
ทั้งเป็นเรื่องจิตใจซึ่งเป็นฝ่ายศาสนจักร
ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้ด้วย
ดังนั้น..
การเสนอเพื่อแก้ไขกฏหมายสงฆ์ในครั้งนี้
คณะสงฆ์ไม่ว่าระดับไหน
ทั้งฝ่ายมหาเถรสมาคม
ฝ่ายสงฆ์โดยทั่วไปทั้งหมด
ไม่ว่าฝ่ายธรรมยุต หรือฝ่ายมหานิกาย
ปรากฎว่า ..
ไม่มีองค์กรไหน ในฝ่ายศาสนจักร
ได้รับทราบเรื่องมาก่อนเลย.!
ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว ผมก็จะขอย้ำว่า..
ความตามใน ม.7 แห่ง พรบ.คณะสงฆ์
ที่ใช้บังคับในปัจจุบันนั้น
ก็ไม่เห็นมีข้อขัดแย้งหรือมีปัญหา
ในการพิจารณาแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช
พระองค์ใหม่ใดๆ ทั้งสิ้น.!
เพราะการประชุม ของมหาเถรสมาคม
ก็ได้ข้อยุติไปแล้ว โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ไปแล้ว
ท่านเห็นพร้องต้องกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ไม่ได้มีปัญหาในทางฝ่ายศาสนจักร
แต่อย่างใดเลย ทั้งมหาเถระฝั่งธรรมยุติ
ก็เอาด้วย ฝั่งมหานิกายก็เอาด้วย..
เป็นเอกฉันท์..มติสงฆ์
ถูกต้องทุกอย่างไปแล้ว
แล้วมันเป็นปัญหาตรงไหน ?
มันไปติดขัดอยู่ตรงไหน ?
ในการตั้งพระสังฆราช.!
ที่ถึงขนาดจะต้องแก้กฏหมายกันเลยหรือ?
หรือ (ความคิด..ยำ) มันไปติดขัดอยู่ตรง
"ไม่ใช่พระของฉัน"
มิจฉาสุดโต้งกันเกินไปแล้วแบบนี้.!!ถ้าเอางั้นจริงๆ ผมก็เสนอให้สังคม
ยุให้แก้กฏหมาย..
แยกสังฆราช.!
ให้ท่านคนละฝั่งเสียเลย
จะเอาแบบงั้นใช่ไหม.?
จะได้สุดซอยไปเลย รู้แล้วรู้รอดอย่ามาเล่นเป็นอีแอบ ไอ้แอบ แบบยึกๆ ยักๆ
กันเสียทุกเรื่องอยู่เลย ควรแยกแยะบ้าง
สังคมปั่นป่วนไปหมดแล้ว!
มันเสียหายพระศาสนาโดยตรงด้วย
แบบธรรมยุติเอาไปองค์ .?
มหานิกายเอาไปคนละองค์
ไปเลย..เอาไหม ?
เพราะยังไงก็มี 2 นิกายอยู่แล้ว
ไม่ได้เป็นสังฆเภทแน่.!!
วนมาที่นายกรัฐมนตรี :
ไม่ใช่หน้าที่ท่านเลย จะมาถือเผือกร้อนไว้
ให้เป็นประวัติศาสตร์อยู่ทำไมครับ.?
ที่จริงตอนนี้ การตั้งสมเด็จพระสังฆราช
รูปใหม่ที่ยังติดขัดอยู่นั้น..
ดังที่ทราบคือ ไม่ใช่ติดที่ขั้นตอนคณะสงฆ์
ขั้นคณะสงฆ์จบไปนานแล้ว.!
เป็นขั้นตอนทั้งตามจารีตสงฆ์
และตามกฏหมาย มันจบแล้ว
ทุกอย่างสมบูรณ์ ยังเหลือเพียงขั้นตอน..
ที่อยู่ในภาระหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี
ในการนำความ..
กราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ
ตามขั้นตอนของกฎหมายเท่านั้นเอง.!
ผมก็ไม่อยากจะพูดลอยๆ ลม
ออกมาหรอกว่า..
ตัวเองไม่มีปัญญาทำ แล้วจะมาโยน
ปัญหาให้พระท่านทำไม?
ดังนั้น การไม่สามารถแต่งตั้ง
สมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ได้นั้น
จึงไม่ได้เป็นปัญหา ทางฝ่ายศาสนจักร
แต่อย่างใด.!
แม้จะมีสงฆ์บางรูป บางหมู่ไม่เห็นด้วย
ก็มิได้มีส่วนเกี่ยวอะไรกับมหาเถรสมาคม
ไม่เกี่ยวอะไรกับกฏหมายใดๆ ทั้งสิ้น.!
ซึ่งก็ไม่ได้เป็นคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์
ในพระพุทธศาสนาแต่อย่างใดด้วย
เอามาแอบอ้างไปวันๆ เท่านั้น.
จึงนำมาเป็นประเด็นไม่ได้หรอกครับ
จะแก้ไขกฎหมาย มาตราสงฆ์
ต้องเริ่มที่ มหาเถรสมาคม.!
ดังนั้น การที่กฤษฎีกาจะมีการแก้ไข ม.7 แห่ง พรบ.คณะสงฆ์
ในบทบัญญัติว่า ด้วยวิธีการขั้นตอน
ในการประชุมแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช
ของมหาเถรสมาคม
โดยไม่ได้มีการชี้แจง หรือปรึกษาสภาพปัญหา
ของรัฐบาลกับฝ่ายศาสนจักรนั้น..
จึงเป็นเรื่องที่ ทางมหาเถรสมาคม
ควรมีการเชิญประชุมมหาเถรสมาคม
เพื่อพิจารณาโดยเฉพาะหรือขั้นตอนเร่งด่วน
คือถามสำนักพุทธฯ ว่า..
ทราบเรื่องครั้งนี้หรือเปล่า ?
เนื่องจากเป็นหน่วยงานของรัฐ
ที่ทำหน้าที่ประสานงาน ระหว่างฝ่ายอาณาจักร
กับฝ่ายศาสนจักรว่า ..
ทราบเรื่องนี้หรือไม่อย่างไร ?
ถ้าไม่ทราบก็เห็นสมควร
ให้มีการประชุมมหาเถรสมาคม
แล้วสอบถามหลักการ และเหตุผล
ในการแก้ไขกฎหมายมาตรานี้
ไปยังรัฐบาลต่อไป ตามขั้นตอนปฎิบัติ
นี้คือ "หลักการ " และผิดจากนี้
ก็ไม่ใช่หลักการแล้วละครับ.!
ส่วนจะเรียกหลักอะไร ก็ไปสรรหาคำ
เอาเองก็แล้วกัน..
ข้อเท็จจริงประการหนึ่ง ที่กฤษฎีกา
จงใจละทิ้งไป ?
ในการร่างกฎหมายใหม่ หรือแก้ไขกฎหมาย
ทุกครั้งนั้น..
ถ้าหากจะมีการประชุมแก้ไขกฎหมาย
ตามระเบียบการประชุมระหว่างการประชุม
คณะกรรมการกฤษฎีกา
จะต้องมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ที่ขอเสนอร่างกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายนั้นๆ
ไปชี้แจงต่อที่ประชุมด้วย.!
เพื่อให้ทราบถึงเหตุผล และที่ไปที่มา
ของการต้องการให้มีกฎหมาย
หรือที่ต้องแก้ไขกฎหมายว่า ..
มีเหตุผลประการใด
ถึงต้องมีกฏหมาย
หรือที่ต้องแก้ไขกฏหมาย.!
ฉะนั้น ในการแก้ไขกฎหมายคณะสงฆ์
มาตรานี้ ก็เช่นกันควรจะต้องมี
ทางฝ่ายมหาเถรสมาคม
ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมด้วย!
หากไม่มี หรือไม่นิมนต์ตัวแทนคณะสงฆ์
มาร่วมหรือไม่ปรึกษาคณะสงฆ์ใดๆ เลย
เจ้าคุณเบอร์ลิน ก็ขอสั้นๆ
ไว้ตรงนี้ว่า ..
"คงเป็นเรื่อง" แล้วละครับ เรื่องใหญ่แน่!
สรุป
เรื่องความไม่ชอบมาพากล แอบไปแก้ไขม. 7 พรบ.สงฆ์ ของกฤษฎีกา ในครั้งนี้นั้น
ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ นะครับ
ดังที่ผมแจงมาโดยละเอียดในข้างต้น.!
ใหญ่ระนาบเดียวกับ..
"สามารถกำหนดความมีอยู่
หรือสูญสิ้นพระศาสนา
จากแผ่นดินไทยเลยที่เดียว"
เพราะแม้แต่ มหาเถรสมาคม
หรือคณะสงฆ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
ท่านก็ยังไม่ทราบเรื่องเลยมาก่อนเลย
ทั้งใครเป็นเจ้าภาพงานนี้ ก็ไม่ทราบชัด
เพราะเจ้าภาพตัวจริง
คือ มส. ก็ยังงงๆ อยู่เลย.?
ดังนั้น มันก็ย่อมผิดปกติ
อย่างแน่นอนครับ.!
ผมจึงขอจบโพสต์แบบเตือนสติเบาๆ
ในครั้งนี้ก่อนว่า..
ท่านคณะกรรมการ กฤษฎีกาที่เคารพ
ท่านยังไม่ต้องตอบคำถามคณะสงฆ์
โดยตรงก็ได้นะครับ ยังไม่ถึงขั้นนั้นก็ได้
ในขั้นนี้ ขอเพียงแค่ให้ท่าน
จงตอบคำถาม ของเจ้าคุณเบอร์ลินมาก่อน
ที่จะขอถามในนาม ของชาวพุทธ
ผู้เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนาโดยตรง
ในแผ่นดินนี้ ให้ได้เสียก่อนนะครับ
จากนั้น จึงค่อยจะ "หาญกล้า"
มาคิดแก้ พรบ. สงฆ์ ในครั้งนี้ว่า..
1. พรบ. สงฆ์มาตรา 7 มีปัญหาอะไร?
2. แก้ตรงไหน?
3. แก้ว่าอย่างไร
4. ทำไมถึงแก้?
5. ใครสั่งให้ท่านแก้ ?
6. ทำไม มส. จึงไม่ทราบเรื่องนี้เลย ?
ตั้งสติ และตอบมาให้สังคมได้รับทราบ
เอาแบบแจ้งๆ ดีๆ นะครับ อย่าเล่นสำนวน
ภาษากฎหมายที่ต้องมาตีความ
เอาแบบชาวบ้านเข้าใจง่ายๆ ด้วย
หากตอบไม่แจ้ง คาดว่าชาวพุทธทั่วประเทศ
อาจจะลุกฮือ และเบื้องต้นพวกเขา
จะไม่ให้อภัยพวกคุณเลย
ขอเตือนว่า อย่าท้าทายศรัทธา
ของมนุษย์นะครับ!
ผมเตือนมา..ด้วยความหวังดีแล้วนะครับ
ครั้งหน้า โพสต์จะเข้มข้นกว่านี้
โดยครั้งนี้ จะขอประเมินพฤติกรรม
และรอฟังคำชี้แจงที่ผมได้สมมติ
เป็นตัวแทนของหน่วยงาน
ที่เขาเป็นเจ้าของเรื่องกลายๆ
ที่ได้ถามกฤษฎีกาไป ทั้ง 6 ข้อข้างต้น
ในครั้งนี้เสียก่อนครับผม.!
โชคดีมีชัยทุกท่าน
เจ้าคุณเบอร์ลิน
Berlin,den 01.06.2016
ขอบคุณภาพประกอบเรื่อง นสพ.ไทยรัฐ.
http://www.thairath.co.th/content/624624
เจ้าคุณเบอร์ลินชี้ ! แก้ กม.สงฆ์ ม.7 ปกครองสงฆ์ถึงกาลล่มสลาย?
Reviewed by
MFNews
on
13:12:00
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น :