#นาลันทา จากอดีตถึงปัจจุบัน
น า ลั น ท า ห น า ว ม้า ก ๑๑ อ ง ศ ๅ
นาลันทา เป็นชื่อเมือง ๆ หนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) ณ เมืองนี้มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้งคัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของ พระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม
ที่ตั้งของเมืองนาลันทาในปัจจุบัน
นาลันทาเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากเมืองราชคฤห์ใหม่ประมาณ 12 กิโลเมตร ห่างจากเมืองปัตนะ รัฐพิหาร ประมาณ 90 กิโลเมตร ถึงแม้จะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แต่ภายหลังการขุดค้นพบซากมหาวิทยาลัยนาลันทาแล้ว ทางรัฐบาลรัฐพิหารได้ประกาศยกฐานะหมู่บ้านนาลันทา เป็นอำเภอนาลันทา (ที่ว่าการอำเภออยู่ที่พิหารชารีฟ ตั้งอยู่ห่างจากนาลันทา 12 กิโลเมตร)
นาลันทาในความหมายเชิงนิรุกติศาสตร์
คำว่า นาลันทา วิเคราะห์เชิงนิรุกติศาสตร์ได้ 5 นัย ดังนี้
โบราณาจารย์บอกว่านาลันทา เลือนมาจากประโยคว่า น อลม ทา แปลว่า ฉันจะไม่ให้ มีตำนานเสริมว่าสมัยหนึ่งพระโพธิสัตว์บำเพ็ญทานบารมี เป็นที่รู้จักกันดี จนไม่มีใครได้ยินคำว่า ฉันจะไม่ให้
นาลันทา มาจากคำ 2 คำ คือ นาลัน แปลว่า ดอกบัว และ ทา แปลว่า ให้ หมายถึง ให้ดอกบัว มีตำนานเสริมว่าบริเวณนี้มีดอกบัวมาก แม้ปัจจุบันก็ยังมี ดอกบัวมากอยู่ จึงเป็นเหมือนสถานที่ให้ดอกบัว
นาลันทา เป็นชื่อพญานาคซึ่งอาศัยอยู่ในสระบัวใหญ่ ณ บริเวณมหาวิทยาลัยนาลันทาปัจจุบัน ตรงกับคตินิยมของชาวอินเดียในปัจจุบันที่บูชางู มีพิธีเรียกว่านาคปัญจมี มีเมืองชื่อ นาคปุระ๘
นาลันทา ประกอบด้วยคำ 3 คำ คือ น, อลัง, และ ทา แปลตามตัวอักษรว่า ให้ไม่พอ แต่ความหมายก็คือ ให้ไม่รู้จักพอ
สมณะอี้จิงบันทึกไว้ว่า นาลันทา แผลงมาจากคำว่า นาคนันทะ ซึ่งอาจตั้งชื่อตามชื่อพญานาคที่ยึดครองที่นั้นและต่อมา พญานาคนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่า นาคแห่งนาลันทา หรือ นาลันทานาค ท่านธรรมสวามีชาวทิเบตซึ่งเดินทางมาเยี่ยมที่นี้เมื่อ พ.ศ. 1777 บันทึกไว้ว่า คำว่า นาลันทา หมายถึง เจ้าแห่งมนุษย์ (Lord of men)
นาลันทาในสมัยพุทธกาล
คำว่า นาลันทา ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาหลายครั้งในพุทธกาล เช่น ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสเกวัฏฏสูตรแก่บุตรคฤบดีชื่อเกวัฏฏะ และปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาซึ่งแก้ข้อความพระสูตรเดียวกัน เมืองนาลันทาตั้งอยู่ห่างจากกรุงราชคฤห์ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) มีสถานะเป็นเมืองเล็ก (township) แต่เป็นสถานที่ซึ่งมีชื่อเสียง เจริญรุ่งเรือง มีคนอาศัยอยู่มาก เป็นศูนย์กลางการค้าขายเห็นได้จากมีข้อความอ้างถึงเสมอ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จทางไกล ประทับแรม ณ ที่ใดที่หนึ่ง พระสังคีติ-กาจารย์อ้างเสมอว่าสถานที่นั้นอยู่บริเวณใดแน่ ก็จะอ้างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทาว่า อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาฬนฺทํ ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา เช่น
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พร้อม ด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์...
เมืองนาลันทามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปมาเสมอ (โคจรคาม) นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญ ใกล้เคียง เช่น สวนมะม่วงชื่อ ปาวาริกะ ซึ่งทุสสิกปาวาริกเศรษฐีน้อมถวาย สวนอัมพลัฏฐิกา ปาฏลิคาม และพหุปุตตเจดีย์
ความสำคัญของเมืองนาลันทาสมัยพุทธกาล
นาลันทามีความสำคัญมาแต่ครั้งพุทธกาล เห็นได้จากกรณีที่พระสารีบุตรบันลือสีหนาท ประกาศความเลื่อมใสของตนในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น ซึ่งจะมี ปัญญาในทางพระสัมมาสัมโพธิญาณ ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
เนื่องจากพระสารีบุตรต้องการประกาศความเลื่อมใสของตนในเมืองนาลันทาเพราะว่าเมืองนาลันทาเป็นศูนย์การศึกษาแม้ในครั้งพุทธกาล เป็นศูนย์รวม นักปราชญ์นักวิชาการ พระสารีบุตรซึ่งเป็นเลิศทางด้านปัญญาประสงค์ จะประกาศให้เหล่านักวิชาการแห่งนาลันทา รับรู้ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมโพธิญาณของพระผู้มีพระพุทธเจ้า
หลักฐานที่แสดงถึงความสำคัญ ของนาลันทาอีกอย่างหนึ่ง คือ การที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพรหมชาลสูตร ประกาศทิฏฐิ ๖๒ และทรงแสดงเกวัฏฏสูตร แสดงภาวะนิพพานซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา ทิฏฐิ 62 เป็นประเด็นที่เจ้าลัทธิต่างๆ อภิปรายกันไม่รู้จบ เพราะเป็นประเด็นเชิงอภิปรัชญา ไม่มีใครรู้จริง แต่อภิปรายกันตามความคิดเห็น พระพุทธองค์ทรงแสดงให้บรรดาเจ้าลัทธิรู้ว่า วัตถุประสงค์และประโยชน์ของทิฏฐิเหล่านี้คืออะไร มีขอบเขตเพียงไร อานิสงส์ที่เกิดจากการแสดงพระสูตรทั้ง 2 นี้มี 2 ระดับ คือ
ระดับวิชาการ พระพุทธองค์ทรงประกาศให้รู้ว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณครอบคลุมภูมิปัญญาทุกระดับ ทิฏฐิ 62 ซึ่งเป็นเรื่องเชิงวิชาการ เป็นปรัชญา พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้ง แต่ไม่ประสงค์จะอภิปรายตอบข้อสงสัย เพราะไม่มีประโยชน์ และจะกลายเป็นประเด็นให้เจ้าลัทธินำไปกล่าวอ้างในที่ต่างๆ ว่า พระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้ อย่างนี้
ระดับอุดมการณ์ พระพุทธองค์ทรงประกาศภาวะยิ่งใหญ่แห่งนิพพานว่า เป็นที่ดับสนิทของมหาภูตรูป เป็นที่ดับสนิทแห่งนาม ภาวะที่เรียกว่านิพพาน นี่แหละคืออุดมการณ์สูงสุดแห่งการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ความรุ่งเรืองหลังพุทธกาล
ภายหลังพุทธกาล ชื่อเมืองนาลันทาเงียบหายไประยะหนึ่ง หลวงจีนฟาเหียนซึ่งจาริกมาสืบศาสนาในชมพูทวีป ราว พ.ศ. 944-953 บันทึกไว้ว่าได้พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา แต่ต่อมาไม่นาน กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะพระองค์หนึ่งพระนามว่าศักราทิตย์ หรือกุมารคุปตะที่ 1 ซึ่งครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 958-998 ได้ทรงสร้างวัดอันเป็นสถานศึกษาขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองนาลันทา และกษัตริย์พระองค์ ต่อๆ มาในราชวงศ์นี้ก็ได้สร้างวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้นในโอกาสต่างๆ จนมีถึง 6 วัด อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในที่สุดได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ ทำให้วัดทั้ง 6 รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทามหาวิหาร และได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ แห่งสำคัญยิ่ง ที่นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกกันทั่วไปว่า “มหาวิทยาลัยนาลันทา”
มหาวิทยาลัยนาลันทา
พระเจ้าหรรษาวรรธนะ มหาราชพระองค์หนึ่งของอินเดีย ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1149-1191 ก็ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยนาลันทา หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) ซึ่งจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดียในรัชกาลนี้ ในช่วง พ.ศ. 1172-1187 ได้มาศึกษาที่นาลันทามหาวิหาร และได้เขียนบันทึกบรรยายอาคารสถานที่ที่ใหญ่โตและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงาม ท่านเล่าถึงกิจกรรมทางการศึกษา ที่รุ่งเรืองยิ่ง นักศึกษามีประมาณ 10,000 คน และมีอาจารย์ประมาณ 1,500 คน พระมหากษัตริย์พระราชทานหมู่บ้าน 200 หมู่โดยรอบให้ โดยทรงยกภาษีที่เก็บได้ให้เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ผู้เล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น วิชาที่สอนมีทั้งปรัชญา โยคะ ศัพทศาสตร์ เวชชศาสตร์ ตรรกศาสตร์ นิติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ ตลอดจนโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ และตันตระ
แต่ที่เด่นชัดก็คือนาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และเพราะความที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือมาก จึงมีมีนักศึกษาเดินทางมาจากต่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีน ญี่ปุ่น เอเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมองโกเลีย เป็นต้น หอสมุดของนาลันทาใหญ่โตมากและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เมื่อคราวที่ถูกเผาทำลายในสมัยต่อมา มีบันทึกกล่าวว่าหอสมุดนี้ไหม้อยู่เป็นเวลาหลายเดือน หลวงจีนอี้จิงซึ่งจาริกมาในระยะประมาณ พ.ศ. 1223 ก็ได้มาศึกษาที่นาลันทาและได้เขียนบันทึกเล่าไว้อีก นาลันทารุ่งเรืองสืบมาช้านานจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ (พ.ศ. 1303-1685) กษัตริย์ราชวงศ์นี้ก็ทรงอุปถัมภ์มหาวิหารแห่งนี้ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยเฉพาะโอทันตปุระที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่
อย่างไรก็ดี ในระยะหลังๆ นาลันทาได้หันไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิดความย่อหย่อนและหลงเพลินทางกามารมณ์ ซึ่งเมื่อพระที่ควรงดเว้นเรื่องกามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา กลับหันมาเสพกามเสียแล้ว ก็ทำให้เหล่าอุบาสก อุบาสิกาเริ่มเสื่อมศรัทธาจนส่งผลให้ไม่สนใจใยดีพระศาสนา ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ฝ่ายเดียวต่างจากลัทธิพราหมณ์เริ่มที่จะปรับตัวจนกลายมาเป็น ฮินดู การปรับตัวนั้นก็เพื่อต่อสู้กับการเจริญเติบโตของพุทธศาสนา จากลัทธิพราหมณ์ที่ไม่มีนักบวช ก็มี ไม่มีวัด ก็มี จากการเข่นฆ่าบูชายัญสัตว์ ก็หันมานับถือสัตว์บางประเภทและประกาศไม่กินเนื้อ เช่น วัว สร้างเรื่องให้พระพุทธเจ้าก็กลายเป็นอวตารหนึ่งของเทพเจ้าในศาสนาฮินดูและทำให้พุทธศาสนากลมกลืนกับศาสนาฮินดูมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งแห่งความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา
ความล่มสลายของมหาวิทยาลัยนาลันทา
ในประมาณ พ.ศ. 1742 กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้ยกมารุกรานรบชนะกษัตริย์แห่งชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และเข้าครอบครองดินแดนโดยลำดับ กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้เผาผลาญทำลายวัดและปูชนียสถานในพุทธศาสนาลงแทบทั้งหมด และสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา นาลันทามหาวิหารก็ถูกเผาผลาญทำลายลงในช่วงระยะเวลานั้นด้วย มีบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวมุสลิมเล่าว่า ที่นาลันทา พระภิกษุถูกสังหารแทบหมดสิ้น และมหาวิทยาลัยนาลันทาก็ก้าวถึงความพินาศสูญสิ้นลงแต่บัดนั้นมา
จากการบันทึกของท่าน ตารนาท ธรรมสวามินปราชญ์เขียนเอาไว้ว่า พอกองทัพมุสลิมยกทัพกลับไปแล้ว พระ นักศึกษา และพระอาจารย์ ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ซึ่งเหลืออยู่ประมาณ 70 องค์ ก็พากันออกมาจากที่ซ่อน ทำการสำรวจข้าวของที่ยังหลงเหลืออยู่ รวบรวมเท่าที่จะหาได้ ปฏิสังขรณ์ตัดทอนกันเข้าก็พอได้ใช้สอยกันต่อมา และ ท่านมุทิตาภัทร รัฐมนตรีของกษัตริย์ในสมัยนั้นได้จัดทุนทรัพย์จำนวนหนึ่ง ส่งไปจากแคว้นมคธ เพื่อช่วยเหลือซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่นาลันทาขึ้นมาใหม่แต่ก็ทำได้บางส่วนเท่านั้น
แต่แล้ววันหนึ่งได้มีปริพาชก 2 คนได้เข้ามาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตนขึ้นและคงคิดว่าเพียงพอแล้วที่จะอยู่ที่นี่ต่อไป จึงได้รวบรวมเศษไม้แล้วก่อไฟขึ้น พร้อมทั้งขว้างปาดุ้นฟืนที่ติดไฟไปตามสถานที่ต่างๆ โดยรอบ จนกระทั่งเกิดไฟลุกไหม้ไปทั่วมหาวิทยาลัยนาลันทา ก็เป็นอันแหลกลาญเป็นผุยผง สุดที่จะทำการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ให้คืนดีได้ดังเดิม มหาวิทยาลัยนาลันทา อันเลื่องชื่อลือนาม ก็เป็นอันสิ้นสุดลง ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า มาตั้งแต่บัดนั้นซากของนาลันทาที่ถูกขุดค้นพบในภายหลัง ยังประกาศยืนยันอย่างชัดเจนถึงความยิ่งใหญ่ของนาลันทาในอดีตในปลายพุทธศตวรรษที่ 25
การค้นพบนาลันทา แก้ไข
ในยุคที่อังกฤษปกครองอินเดีย นักโบราณคดีจำนวนมากได้มาสำรวจขุดค้นพุทธสถานต่างๆ ในอินเดียโดยอาศัยบันทึกของท่านเฮี่ยนจัง คนแรกที่มาสำรวจ คือ ท่าน ฮามินตัน (Lord Haminton) ใน พ.ศ. 2358 แต่ไม่พบ ได้พบเพียงพระพุทธรูปและเทวรูป 2 องค์เท่านั้น ซึ่งสถานที่พบอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยเพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2403 นายพลคันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจและก็พบมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงกองดินสูงเท่านั้น ต่อมาจึงได้ขุดสำรวจตามหลักวิชาการโบราณคดี มหาวิทยาลัยก็ได้ปรากฏแก่สายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง บริเวณปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ และตรงหน้ามหาวิทยาลัยนาลันทาได้มีพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ที่เก็บรวมรวมโบราณวัตถุที่ขุดพบในมหาวิทยาลัยนาลันทา
สถาบันนาลันทาใหม่ แก้ไข
อินเดียตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ได้มีบทบาทอันยิ่งใหญ่ในการสร้างสรรค์อารยธรรมของชมพูทวีป รวมทั้งบทบาทของมหาวิทยาลัยนาลันทานี้ด้วย ใน พ.ศ. 2494 ก็ได้มีการจัดตั้งสถาบันบาลีนาลันทา ชื่อว่า “นวนาลันทามหาวิหาร” (นาลันทามหาวิหารแห่งใหม่) ขึ้น เพื่อแสดงความรำลึกคุณและยกย่องเกียรติแห่งพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นาลันทามหาวิหาร มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ในสมัยอดีต
สถาบันนาลันทาที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากความเลื่อมใสของหลวงพ่อ เจ กัสสปะ สังฆนายกรูปแรกของสงฆ์อินเดีย ท่านเป็นชาวเมืองรานชี (Ranchi) เมืองหลวงของรัฐจักกัน ท่านเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย เมื่อเป็นหนุ่มได้ศึกษาพุทธประวัติ เกิดศรัทธาอย่างมาก จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ประเทศศรีลังกา และได้ออกปาฐกแสดงเรื่องความยิ่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยนาลันทาในอดีต แก่ผู้นำรัฐบาลในกรุงนิวเดลี และในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ โดยเปิดสอนในปี พ.ศ. 2494 และท่านได้เป็นครูสอนและผู้บริหารของสถาบัน ครั้งแรกเปิดสอนทีวัดจีนนาลันทา ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ตรงกันข้ามกับนาลันเก่า
ต่อมาชาวมุสลิมที่อยู่ที่หมู่บ้านนาลันทา ต้องการจะไถ่บาปที่บรรพบุรุษของตนได้ทำไว้แก่ชาวพุทธ จึงมอบที่ดินจำนวน 12 ไร่เพื่อสร้างเป็นสถาบันบาลีนาลันทาแห่งใหม่ สถาบันนาลันทาใหม่ ครั้งแรกมีเพียงตึก 2 หลัง ใช้เป็นสถานที่ทำงานของครูอาจารย์และห้องสมุด อีกหลังหนึ่งเป็นที่พำนักของนักศึกษานานาชาติ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2500 สถาบันนวนาลันทาที่เปิดสอนด้านภาษาบาลีและพระพุทธศาสนาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก และได้รับการรับรองและสนับสนุนจากรัฐบาลกลางนิวเดลลี มีพระสงฆ์จากประเทศต่างๆ ไปศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไทย พม่า กัมพูชา อินเดีย บังคลาเทศ
อ้างอิง
ชิว ซูหลุน. ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง. [ม.ป.ท.] : สำนักพิมพ์มติชน, [ม.ป.ป.]. หน้า 379-386. ISBN 974-323-332-6
พระธรรมปิฎก. จาริกบุญ จารึกธรรม. [ม.ป.ท.] : มูลนิธิพุทธธรรม, [ม.ป.ป.]. หน้า 46-66. ISBN 974-7890-74-7
เว็บไซต์ธรรมะไทย
เว็บไชต์ Nalanda
จุดจบนาลันทา..จุดจบพุทธศาสนาในอินเดีย
บอกกล่าวเล่าเรื่องจากพระธรรมทูตอินเดีย
ที่มา พระมหา ดร. เพชรน้ำหนึ่ง
นาลันทา เป็นชื่อเมือง ๆ หนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) ณ เมืองนี้มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้งคัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของ พระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม
ที่ตั้งของเมืองนาลันทาในปัจจุบัน
นาลันทาเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากเมืองราชคฤห์ใหม่ประมาณ 12 กิโลเมตร ห่างจากเมืองปัตนะ รัฐพิหาร ประมาณ 90 กิโลเมตร ถึงแม้จะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แต่ภายหลังการขุดค้นพบซากมหาวิทยาลัยนาลันทาแล้ว ทางรัฐบาลรัฐพิหารได้ประกาศยกฐานะหมู่บ้านนาลันทา เป็นอำเภอนาลันทา (ที่ว่าการอำเภออยู่ที่พิหารชารีฟ ตั้งอยู่ห่างจากนาลันทา 12 กิโลเมตร)
นาลันทาในความหมายเชิงนิรุกติศาสตร์
คำว่า นาลันทา วิเคราะห์เชิงนิรุกติศาสตร์ได้ 5 นัย ดังนี้
โบราณาจารย์บอกว่านาลันทา เลือนมาจากประโยคว่า น อลม ทา แปลว่า ฉันจะไม่ให้ มีตำนานเสริมว่าสมัยหนึ่งพระโพธิสัตว์บำเพ็ญทานบารมี เป็นที่รู้จักกันดี จนไม่มีใครได้ยินคำว่า ฉันจะไม่ให้
นาลันทา มาจากคำ 2 คำ คือ นาลัน แปลว่า ดอกบัว และ ทา แปลว่า ให้ หมายถึง ให้ดอกบัว มีตำนานเสริมว่าบริเวณนี้มีดอกบัวมาก แม้ปัจจุบันก็ยังมี ดอกบัวมากอยู่ จึงเป็นเหมือนสถานที่ให้ดอกบัว
นาลันทา เป็นชื่อพญานาคซึ่งอาศัยอยู่ในสระบัวใหญ่ ณ บริเวณมหาวิทยาลัยนาลันทาปัจจุบัน ตรงกับคตินิยมของชาวอินเดียในปัจจุบันที่บูชางู มีพิธีเรียกว่านาคปัญจมี มีเมืองชื่อ นาคปุระ๘
นาลันทา ประกอบด้วยคำ 3 คำ คือ น, อลัง, และ ทา แปลตามตัวอักษรว่า ให้ไม่พอ แต่ความหมายก็คือ ให้ไม่รู้จักพอ
สมณะอี้จิงบันทึกไว้ว่า นาลันทา แผลงมาจากคำว่า นาคนันทะ ซึ่งอาจตั้งชื่อตามชื่อพญานาคที่ยึดครองที่นั้นและต่อมา พญานาคนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่า นาคแห่งนาลันทา หรือ นาลันทานาค ท่านธรรมสวามีชาวทิเบตซึ่งเดินทางมาเยี่ยมที่นี้เมื่อ พ.ศ. 1777 บันทึกไว้ว่า คำว่า นาลันทา หมายถึง เจ้าแห่งมนุษย์ (Lord of men)
นาลันทาในสมัยพุทธกาล
คำว่า นาลันทา ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาหลายครั้งในพุทธกาล เช่น ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสเกวัฏฏสูตรแก่บุตรคฤบดีชื่อเกวัฏฏะ และปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาซึ่งแก้ข้อความพระสูตรเดียวกัน เมืองนาลันทาตั้งอยู่ห่างจากกรุงราชคฤห์ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) มีสถานะเป็นเมืองเล็ก (township) แต่เป็นสถานที่ซึ่งมีชื่อเสียง เจริญรุ่งเรือง มีคนอาศัยอยู่มาก เป็นศูนย์กลางการค้าขายเห็นได้จากมีข้อความอ้างถึงเสมอ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จทางไกล ประทับแรม ณ ที่ใดที่หนึ่ง พระสังคีติ-กาจารย์อ้างเสมอว่าสถานที่นั้นอยู่บริเวณใดแน่ ก็จะอ้างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทาว่า อนฺตรา จ ราชคหํ อนฺตรา จ นาฬนฺทํ ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา เช่น
สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา พร้อม ด้วยพรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์...
เมืองนาลันทามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ เป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปมาเสมอ (โคจรคาม) นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญ ใกล้เคียง เช่น สวนมะม่วงชื่อ ปาวาริกะ ซึ่งทุสสิกปาวาริกเศรษฐีน้อมถวาย สวนอัมพลัฏฐิกา ปาฏลิคาม และพหุปุตตเจดีย์
ความสำคัญของเมืองนาลันทาสมัยพุทธกาล
นาลันทามีความสำคัญมาแต่ครั้งพุทธกาล เห็นได้จากกรณีที่พระสารีบุตรบันลือสีหนาท ประกาศความเลื่อมใสของตนในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ไม่เคยมี จักไม่มี และย่อมไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ผู้อื่น ซึ่งจะมี ปัญญาในทางพระสัมมาสัมโพธิญาณ ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
เนื่องจากพระสารีบุตรต้องการประกาศความเลื่อมใสของตนในเมืองนาลันทาเพราะว่าเมืองนาลันทาเป็นศูนย์การศึกษาแม้ในครั้งพุทธกาล เป็นศูนย์รวม นักปราชญ์นักวิชาการ พระสารีบุตรซึ่งเป็นเลิศทางด้านปัญญาประสงค์ จะประกาศให้เหล่านักวิชาการแห่งนาลันทา รับรู้ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมโพธิญาณของพระผู้มีพระพุทธเจ้า
หลักฐานที่แสดงถึงความสำคัญ ของนาลันทาอีกอย่างหนึ่ง คือ การที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพรหมชาลสูตร ประกาศทิฏฐิ ๖๒ และทรงแสดงเกวัฏฏสูตร แสดงภาวะนิพพานซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา ทิฏฐิ 62 เป็นประเด็นที่เจ้าลัทธิต่างๆ อภิปรายกันไม่รู้จบ เพราะเป็นประเด็นเชิงอภิปรัชญา ไม่มีใครรู้จริง แต่อภิปรายกันตามความคิดเห็น พระพุทธองค์ทรงแสดงให้บรรดาเจ้าลัทธิรู้ว่า วัตถุประสงค์และประโยชน์ของทิฏฐิเหล่านี้คืออะไร มีขอบเขตเพียงไร อานิสงส์ที่เกิดจากการแสดงพระสูตรทั้ง 2 นี้มี 2 ระดับ คือ
ระดับวิชาการ พระพุทธองค์ทรงประกาศให้รู้ว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณครอบคลุมภูมิปัญญาทุกระดับ ทิฏฐิ 62 ซึ่งเป็นเรื่องเชิงวิชาการ เป็นปรัชญา พระพุทธองค์ทรงรู้แจ้ง แต่ไม่ประสงค์จะอภิปรายตอบข้อสงสัย เพราะไม่มีประโยชน์ และจะกลายเป็นประเด็นให้เจ้าลัทธินำไปกล่าวอ้างในที่ต่างๆ ว่า พระพุทธองค์ตรัสอย่างนี้ อย่างนี้
ระดับอุดมการณ์ พระพุทธองค์ทรงประกาศภาวะยิ่งใหญ่แห่งนิพพานว่า เป็นที่ดับสนิทของมหาภูตรูป เป็นที่ดับสนิทแห่งนาม ภาวะที่เรียกว่านิพพาน นี่แหละคืออุดมการณ์สูงสุดแห่งการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
ความรุ่งเรืองหลังพุทธกาล
ภายหลังพุทธกาล ชื่อเมืองนาลันทาเงียบหายไประยะหนึ่ง หลวงจีนฟาเหียนซึ่งจาริกมาสืบศาสนาในชมพูทวีป ราว พ.ศ. 944-953 บันทึกไว้ว่าได้พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา แต่ต่อมาไม่นาน กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะพระองค์หนึ่งพระนามว่าศักราทิตย์ หรือกุมารคุปตะที่ 1 ซึ่งครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 958-998 ได้ทรงสร้างวัดอันเป็นสถานศึกษาขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองนาลันทา และกษัตริย์พระองค์ ต่อๆ มาในราชวงศ์นี้ก็ได้สร้างวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้นในโอกาสต่างๆ จนมีถึง 6 วัด อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในที่สุดได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ ทำให้วัดทั้ง 6 รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทามหาวิหาร และได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ แห่งสำคัญยิ่ง ที่นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกกันทั่วไปว่า “มหาวิทยาลัยนาลันทา”
มหาวิทยาลัยนาลันทา
พระเจ้าหรรษาวรรธนะ มหาราชพระองค์หนึ่งของอินเดีย ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1149-1191 ก็ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยนาลันทา หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) ซึ่งจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดียในรัชกาลนี้ ในช่วง พ.ศ. 1172-1187 ได้มาศึกษาที่นาลันทามหาวิหาร และได้เขียนบันทึกบรรยายอาคารสถานที่ที่ใหญ่โตและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงาม ท่านเล่าถึงกิจกรรมทางการศึกษา ที่รุ่งเรืองยิ่ง นักศึกษามีประมาณ 10,000 คน และมีอาจารย์ประมาณ 1,500 คน พระมหากษัตริย์พระราชทานหมู่บ้าน 200 หมู่โดยรอบให้ โดยทรงยกภาษีที่เก็บได้ให้เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ผู้เล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น วิชาที่สอนมีทั้งปรัชญา โยคะ ศัพทศาสตร์ เวชชศาสตร์ ตรรกศาสตร์ นิติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ ตลอดจนโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ และตันตระ
แต่ที่เด่นชัดก็คือนาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และเพราะความที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือมาก จึงมีมีนักศึกษาเดินทางมาจากต่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีน ญี่ปุ่น เอเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมองโกเลีย เป็นต้น หอสมุดของนาลันทาใหญ่โตมากและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เมื่อคราวที่ถูกเผาทำลายในสมัยต่อมา มีบันทึกกล่าวว่าหอสมุดนี้ไหม้อยู่เป็นเวลาหลายเดือน หลวงจีนอี้จิงซึ่งจาริกมาในระยะประมาณ พ.ศ. 1223 ก็ได้มาศึกษาที่นาลันทาและได้เขียนบันทึกเล่าไว้อีก นาลันทารุ่งเรืองสืบมาช้านานจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ (พ.ศ. 1303-1685) กษัตริย์ราชวงศ์นี้ก็ทรงอุปถัมภ์มหาวิหารแห่งนี้ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยเฉพาะโอทันตปุระที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่
อย่างไรก็ดี ในระยะหลังๆ นาลันทาได้หันไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิดความย่อหย่อนและหลงเพลินทางกามารมณ์ ซึ่งเมื่อพระที่ควรงดเว้นเรื่องกามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา กลับหันมาเสพกามเสียแล้ว ก็ทำให้เหล่าอุบาสก อุบาสิกาเริ่มเสื่อมศรัทธาจนส่งผลให้ไม่สนใจใยดีพระศาสนา ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ฝ่ายเดียวต่างจากลัทธิพราหมณ์เริ่มที่จะปรับตัวจนกลายมาเป็น ฮินดู การปรับตัวนั้นก็เพื่อต่อสู้กับการเจริญเติบโตของพุทธศาสนา จากลัทธิพราหมณ์ที่ไม่มีนักบวช ก็มี ไม่มีวัด ก็มี จากการเข่นฆ่าบูชายัญสัตว์ ก็หันมานับถือสัตว์บางประเภทและประกาศไม่กินเนื้อ เช่น วัว สร้างเรื่องให้พระพุทธเจ้าก็กลายเป็นอวตารหนึ่งของเทพเจ้าในศาสนาฮินดูและทำให้พุทธศาสนากลมกลืนกับศาสนาฮินดูมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งแห่งความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา
ความล่มสลายของมหาวิทยาลัยนาลันทา
ในประมาณ พ.ศ. 1742 กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้ยกมารุกรานรบชนะกษัตริย์แห่งชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และเข้าครอบครองดินแดนโดยลำดับ กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้เผาผลาญทำลายวัดและปูชนียสถานในพุทธศาสนาลงแทบทั้งหมด และสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา นาลันทามหาวิหารก็ถูกเผาผลาญทำลายลงในช่วงระยะเวลานั้นด้วย มีบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวมุสลิมเล่าว่า ที่นาลันทา พระภิกษุถูกสังหารแทบหมดสิ้น และมหาวิทยาลัยนาลันทาก็ก้าวถึงความพินาศสูญสิ้นลงแต่บัดนั้นมา
จากการบันทึกของท่าน ตารนาท ธรรมสวามินปราชญ์เขียนเอาไว้ว่า พอกองทัพมุสลิมยกทัพกลับไปแล้ว พระ นักศึกษา และพระอาจารย์ ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ซึ่งเหลืออยู่ประมาณ 70 องค์ ก็พากันออกมาจากที่ซ่อน ทำการสำรวจข้าวของที่ยังหลงเหลืออยู่ รวบรวมเท่าที่จะหาได้ ปฏิสังขรณ์ตัดทอนกันเข้าก็พอได้ใช้สอยกันต่อมา และ ท่านมุทิตาภัทร รัฐมนตรีของกษัตริย์ในสมัยนั้นได้จัดทุนทรัพย์จำนวนหนึ่ง ส่งไปจากแคว้นมคธ เพื่อช่วยเหลือซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่นาลันทาขึ้นมาใหม่แต่ก็ทำได้บางส่วนเท่านั้น
แต่แล้ววันหนึ่งได้มีปริพาชก 2 คนได้เข้ามาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตนขึ้นและคงคิดว่าเพียงพอแล้วที่จะอยู่ที่นี่ต่อไป จึงได้รวบรวมเศษไม้แล้วก่อไฟขึ้น พร้อมทั้งขว้างปาดุ้นฟืนที่ติดไฟไปตามสถานที่ต่างๆ โดยรอบ จนกระทั่งเกิดไฟลุกไหม้ไปทั่วมหาวิทยาลัยนาลันทา ก็เป็นอันแหลกลาญเป็นผุยผง สุดที่จะทำการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ให้คืนดีได้ดังเดิม มหาวิทยาลัยนาลันทา อันเลื่องชื่อลือนาม ก็เป็นอันสิ้นสุดลง ถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า มาตั้งแต่บัดนั้นซากของนาลันทาที่ถูกขุดค้นพบในภายหลัง ยังประกาศยืนยันอย่างชัดเจนถึงความยิ่งใหญ่ของนาลันทาในอดีตในปลายพุทธศตวรรษที่ 25
การค้นพบนาลันทา แก้ไข
ในยุคที่อังกฤษปกครองอินเดีย นักโบราณคดีจำนวนมากได้มาสำรวจขุดค้นพุทธสถานต่างๆ ในอินเดียโดยอาศัยบันทึกของท่านเฮี่ยนจัง คนแรกที่มาสำรวจ คือ ท่าน ฮามินตัน (Lord Haminton) ใน พ.ศ. 2358 แต่ไม่พบ ได้พบเพียงพระพุทธรูปและเทวรูป 2 องค์เท่านั้น ซึ่งสถานที่พบอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยเพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2403 นายพลคันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจและก็พบมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงกองดินสูงเท่านั้น ต่อมาจึงได้ขุดสำรวจตามหลักวิชาการโบราณคดี มหาวิทยาลัยก็ได้ปรากฏแก่สายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง บริเวณปัจจุบันมีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ และตรงหน้ามหาวิทยาลัยนาลันทาได้มีพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ที่เก็บรวมรวมโบราณวัตถุที่ขุดพบในมหาวิทยาลัยนาลันทา
สถาบันนาลันทาใหม่ แก้ไข
อินเดียตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ได้มีบทบาทอันยิ่งใหญ่ในการสร้างสรรค์อารยธรรมของชมพูทวีป รวมทั้งบทบาทของมหาวิทยาลัยนาลันทานี้ด้วย ใน พ.ศ. 2494 ก็ได้มีการจัดตั้งสถาบันบาลีนาลันทา ชื่อว่า “นวนาลันทามหาวิหาร” (นาลันทามหาวิหารแห่งใหม่) ขึ้น เพื่อแสดงความรำลึกคุณและยกย่องเกียรติแห่งพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นาลันทามหาวิหาร มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ในสมัยอดีต
สถาบันนาลันทาที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากความเลื่อมใสของหลวงพ่อ เจ กัสสปะ สังฆนายกรูปแรกของสงฆ์อินเดีย ท่านเป็นชาวเมืองรานชี (Ranchi) เมืองหลวงของรัฐจักกัน ท่านเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย เมื่อเป็นหนุ่มได้ศึกษาพุทธประวัติ เกิดศรัทธาอย่างมาก จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ประเทศศรีลังกา และได้ออกปาฐกแสดงเรื่องความยิ่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยนาลันทาในอดีต แก่ผู้นำรัฐบาลในกรุงนิวเดลี และในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ โดยเปิดสอนในปี พ.ศ. 2494 และท่านได้เป็นครูสอนและผู้บริหารของสถาบัน ครั้งแรกเปิดสอนทีวัดจีนนาลันทา ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ตรงกันข้ามกับนาลันเก่า
ต่อมาชาวมุสลิมที่อยู่ที่หมู่บ้านนาลันทา ต้องการจะไถ่บาปที่บรรพบุรุษของตนได้ทำไว้แก่ชาวพุทธ จึงมอบที่ดินจำนวน 12 ไร่เพื่อสร้างเป็นสถาบันบาลีนาลันทาแห่งใหม่ สถาบันนาลันทาใหม่ ครั้งแรกมีเพียงตึก 2 หลัง ใช้เป็นสถานที่ทำงานของครูอาจารย์และห้องสมุด อีกหลังหนึ่งเป็นที่พำนักของนักศึกษานานาชาติ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2500 สถาบันนวนาลันทาที่เปิดสอนด้านภาษาบาลีและพระพุทธศาสนาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก และได้รับการรับรองและสนับสนุนจากรัฐบาลกลางนิวเดลลี มีพระสงฆ์จากประเทศต่างๆ ไปศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไทย พม่า กัมพูชา อินเดีย บังคลาเทศ
อ้างอิง
ชิว ซูหลุน. ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง. [ม.ป.ท.] : สำนักพิมพ์มติชน, [ม.ป.ป.]. หน้า 379-386. ISBN 974-323-332-6
พระธรรมปิฎก. จาริกบุญ จารึกธรรม. [ม.ป.ท.] : มูลนิธิพุทธธรรม, [ม.ป.ป.]. หน้า 46-66. ISBN 974-7890-74-7
เว็บไซต์ธรรมะไทย
เว็บไชต์ Nalanda
จุดจบนาลันทา..จุดจบพุทธศาสนาในอินเดีย
บอกกล่าวเล่าเรื่องจากพระธรรมทูตอินเดีย
ที่มา พระมหา ดร. เพชรน้ำหนึ่ง
#นาลันทา จากอดีตถึงปัจจุบัน
Reviewed by
HappinessplusC
on
17:10:00
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น :