สวดมนต์แปล ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
เอวัมฺเม สุตัง
อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
เอกัง สมยัง ภควา
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย
เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
ตัตฺระ โข ภะคะวา ปัญฺจะวัคฺคิเย ภิกฺขู อามันฺเตสิ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคียว่า
เทฺวเม ภิกฺขะเว อันฺตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (การกระทำ)ที่สุดสองอย่างนี้
ปัพฺพะชิเต นะ นะ เสวิตัพฺพา
อันบรรพชิตไม่ควรเสพ (ไม่ควรข้องแวะเลย)
โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลฺลิกานุโยโค
คือการประกอบตนให้พัวพันด้วย (ความใคร่ใน)กาม ในกาม(สุข) ทั้งหลายนี้ใด
หิโน (HEE โน พิมพ์ไม่ได้เครื่องแจ้งไม่สุภาพ)
เป็นธรรมอันเลว (เป็นของต่ำทราม)
คัมฺโม
เป็นของชาวบ้าน เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน
โปถุชฺชะนิโก
เป็นของชั้นปุถุชน เป็นของคนมีกิเลสหนา
อะนะริโย
ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส
อะนัตฺถะสัญฺหิโต
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง
โย จายัง อัตฺตะกิละมะถานุโยโค
คือการประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตน การทรมานตนให้ลำบาก เหล่านี้ใด
ทุกฺโข
เป็นสิ่งนำมาซึ่งทุกข์ ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ
อะนะริโย
ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส
อะนัตฺถะสัญฺหิโต
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง
เอเต เต ภิกฺขะเว อุโภ อันฺเต อะนุปะคัมฺมะ มัชฺฌิมา ปะฏิปะทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางไม่เข้าไปใกล้(การกระทำ)ที่สุด สองอย่างนั่นนั้น
ตะถาคะเตนะ อภิสัมฺพุทฺธา
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จักฺขุกะระณี
ทำดวงตาให้เกิด
ญาณะกะระณี
ทำญาณเครื่องรู้
อุปะสะมายะ
ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับ
อะภิญฺญายะ
เพื่อความรู้ยิ่ง
สัมโพธายะ
เพื่อความรู้พร้อม เพื่อความรู้ดี
นิพฺพานายะ สังวัตตะติ
เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน
กะตะมา จะ สา ภิกฺขะเว มัชฺฌิมา ปะฏิปะทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้(การกระทำ)ที่สุด สองอย่างนั่น นั้นเป็นไฉน
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมฺพุทฺธา
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จักฺขุกะระณี
ทำดวงตาให้เกิด
ญาณะกะระณี
ทำญาณเครื่องรู้
อุปะสะมายะ
ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับ
อะภิญญายะ
เพื่อความรู้ยิ่ง
สัมฺโพธายะ
เพื่อความรู้พร้อม เพื่อความรู้ดี
นิพฺพานายะ สังวัตฺตะติ
เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฺฐังคิโก มัคฺโค
ทางมีองค์แปด เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง
เสยฺยะถีทัง
กล่าวคือ
(๑) สัมฺมาทิฏฺ ฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ
(๒) สัมฺมาสังฺกัปฺโป
ความดำริชอบ
(๓) สัมฺมาวาจา
การพูดจาชอบ
(๔) สัมฺมากัมฺมันฺโต
การทำการงานชอบ
(๕) สัมฺมาอาชีโว
ความเลี้ยงชีวิตชอบ
(๖) สัมมาวายาโม
ความพากเพียรชอบ
(๗) สัมฺมาสะติ
ความระลึกชอบ
(๘) สัมฺมาสะมาธิ
ความตั้งจิตมั่นชอบ
อะยัง โข สา ภิกฺขะเว มัชฺฌิมา ปะฏิปะทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล ข้อปฏิบัติชึ่งเป็นกลางนั้น
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมฺพุทฺธา
ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
จักฺขุกะระณี
ทำดวงตาให้เกิด
ญาณะกะระณี
ทำญาณเครื่องรู้
อุปะสะมายะ
ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับ
อะภิญฺ ญายะ
เพื่อความรู้ยิ่ง
สัมฺโพธายะ
เพื่อความรู้พร้อม เพื่อความรู้ดี
นิพฺพานายะ สังวัตฺตติ
เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน
อิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขัง อริยะสัจฺจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นทุกข์อย่างแท้จริง คือ
ชาติปิ ทุกฺขา
ความเกิดก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกฺขา
ความแก่ก็เป็นทุกข์
มะระณัมฺปิ ทุกฺขัง
ความตายก็เป็นทุกข์
โสกะ ปะริเทวะ ทุกฺขะ โทมะนัสฺ สุปายาสาปิ ทุกฺขา
ความโศก ความรำไรรำพัน ความทุกข์(ความไม่สบายกาย) โทมนัส(ความไม่สบายใจ) และความคับแค้นใจ ก็เป็น
ทุกข์
อัปฺปิเยหิ สัมฺปะโยโค ทุกฺโข
ความประสบด้วยสิ่งที่ ไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปฺปะโยโค ทุกฺโข
ความพลัดพราก จากสิ่งที่รัก ที่พอใจทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์
ยัมฺปิจฺฉัง นะ ละภะติ ตัมฺปิ ทุกฺขัง
ปรารถนาอยู่ย่อมไม่ได้ แม้อันใด แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์
สังฺขิตฺเตนะ ปัญฺจุปาทานักฺขันฺธา ทุกฺขา
โดยย่อแล้ว อุปาทานขันข์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์
อิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นเหตุให้ทุกข์ เกิดขึ้นอย่างแท้จริง คือ
ยายัง ตัณหา
ความทะยานอยาก(ของจิต)นี้อันใด
โปโนพฺภะวิกา
ทำให้มีภพอีก อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก
นันฺทิราคะ สะหะคะตา
เป็นไปกับด้วย(อันประกอบอยู่ด้วย)ความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน
ตัตฺระ ตัตฺราภินันฺทินี
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ (ตัณหามักเพลิดเพลินในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ชื่อว่าในที่นั้นๆ)
เสยฺยะถีทังฯ
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
กามะตัณฺหา
คือ ความทยานอยากในกาม ความทะยานอยากในอารมณ์ที่รัก ใคร่
ภะวะตัณฺหา
คือ ความทะยานอยากในความมี ความเป็น
วิภะวะตัณฺหาฯ
คือ ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น
อิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ
โย ตัสฺสาเยวะ ตัณฺหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ
ความดับสนิทเพราะจางไป โดยสิ้นความกำหนัด โดยไม่เหลือ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียวอันใด
จาโค
ความสละเสียตัณหานั้น
ปะฏินิสฺสัคฺโค
ความวาง ความสละคืน ความสละได้ขาด ตัณหานั้น
มุตฺติ
ความปล่อย ความพ้น ความหลุดพ้น ตัณหานั้น
อะนาละโย
ความไม่พัวพัน ไม่กังวล ไม่อาลัยในตัณหานั้น(เป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น)
อิทัง โข ปะนะ ภิกฺขะเว ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อริยะสัจฺจัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฺฐังฺคิโก มัคฺโค
ทางมีองค์แปด เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เอง
เสยฺยะถีทัง
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
(๑) สัมฺมาทิฏฺ ฐิ
ปัญญาอันเห็นชอบ
(๒) สัมฺมาสังฺกัปฺโป
ความดำริชอบ
(๓) สัมฺมาวาจา
การพูดจาชอบ
(๔) สัมฺมากัมฺมันฺโต
การทำการงานชอบ
(๕) สัมฺมาอาชีโว
ความเลี้ยงชีวิตชอบ
(๖) สัมฺมาวายาโม
ความพากเพียรชอบ
(๗) สัมฺมาสะติ
ความระลึกชอบ
(๘) สัมฺมาสะมาธิฯ
ความตั้งจิตมั่นชอบ
อิทัง ทุกฺขัง อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่านี้เป็น ทุกข์อริยสัจ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขัง อะริยะสัจฺจัง ปะริญฺ เญยฺยันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ
ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก
อุทะปาทิฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขัง อะริยะสัจฺจัง ปะริญฺญาตันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ
ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺ า อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก
อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้กำหนดรู้แล้ว
อิทัง ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง
อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้ว ในกาลก่อนว่านี้ ทุกขสมุทัยอริยสัจ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะสะมุทะโย อะริยะสัจฺจัง ปะหาตัพฺพันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺ า อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย
ตังโข ปะนิทัง ทุกฺขะสะมุทะโย อริยะสัจฺจัง ปะหิ(hee)นันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ
ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺ า อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก
อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ นั้นแล อันเราได้ละแล้ว
อิทัง ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง
อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺ า อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ ฟังแล้ว ในกาลก่อนว่านี้เป็น ทุกขนิโรธ อริยสัจ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจัง สัจฺฉิกาตัพฺพันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ นั้นแล ควรทำใหัแจ้ง
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรโธ อะริยะสัจฺจัง สัจฺฉิกะตันติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ
อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญฺญา อุทะปาทิ วิชฺชา
อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ นั้นแล อันเราได้ทำใหัแจ้งแล้ว
อิทัง ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อริยะสัจฺจันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ
ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา อุทะปาทิ อาโลโก
อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้ว ในกาลก่อนว่านี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจฺจัง ภาเวตัพฺพันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา
อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ นั้นแล ควรให้เจริญ
ตัง โข ปะนิทัง ทุกฺขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจฺจัง ภาวิตันฺติ เม ภิกฺขะเว ปุพฺเพ อะนะนุสฺสุเตสุ ธัมฺเมสุ จักฺขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญฺา อุทะปาทิ วิชฺชา
อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิ ปทาอริยสัจนี้ นั้นแล อันเราเจริญแล้ว
ยาวะกีวัญฺจะ เม ภิกฺขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจฺเจสุ เอวันฺติปริวัฏฺฏัง ทฺวาทะสาการัง
ยะถาภูตัง ญาณะทัสฺสนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจสี่เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว
เนวะ ตาวาหัง ภิกฺขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสฺสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสฺสายะ อนุตฺตะรัง สัมฺมาสัมฺโพธิง อะภิสัมฺพุทโธ ปัจฺจัญฺ ญาสิงฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยเทพดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น
ยะโต จะ โข เม ภิกฺขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจฺเจสุ เอวันฺติปริวัฏฺฏัง ทฺวาทะสาการัง ยถาภูตัง ญาณะทัสฺสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจสี่ เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว
อะถาหัง ภิกฺขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสฺสะมะณะพฺราหฺมะณิยา
ปะชายะ สเทวมนุสฺสาย อนุตฺตะรัง สัมฺมาสมฺโพธิง อะภิสัมฺพุทฺโธ ปัจฺจัญฺญาสิงฯ
เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วย เทพดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดา มนุษย์
ญาณัญฺจะ ปะนะ เม ทัสฺสะนัง อุทะปาทิ
ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
อะกุปฺปา เม วิมุตติ อะยะมันฺติมา ชาติ นัตฺถิทานิ ปุนัพฺภะโวติ
ว่าความพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีภพอีก
อิทะมะโวจะ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว
อัตฺตะมะนา ปัญฺจะวัคฺคิยา ภิกฺขู
ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดี
ภะคะวะโค ภาสิตัง อภินันฺทุง
เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อิมัสฺมิญฺจะ ปะนะ เวยฺยากะระณัสฺมิง ภัญฺญะ มาเน
ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่
อายัสฺมะโต โกณฺฑัญฺญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมฺมะจักฺขุง อุทะปาทิ
จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ
ยังฺกิญฺจิ สะมุทะยะธัมฺมัง สัพฺพันฺตัง นิโรธะธัมฺมันฺติ
ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้น มีอันดับไปเป็นธรรมดา
ปะวัตฺติเต จะ ภะคะวะตา ธัมฺมะจักเก
ก็ครั้นเมื่อธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว
ภุมฺมา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง
เหล่าภุมมเทพดา ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
เอตัมฺภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมฺมะจักฺกัง
ปะวัตฺติตัง อัปฺปะฏิวัตฺติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ
วา พฺรัหฺมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินฺติ
ว่านั้นจักร คือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมือง
พาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้
ภุมฺมานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา จาตุมฺมะหาราชิกา เทวา สัทฺทะมะนุสสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าภุมมเทพดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
จาตุมฺมะหาราชิกานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ตาวะติงสา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ยามา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าชั้นยามะ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ยามานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ตุสิตา เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามะแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ตุสิตานัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา นิมฺมานะระตี เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
นิมฺมานะระตีนัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา ปะระนิมฺมิตะวะสะวัตตี เทวา สัทฺทะมะนุสฺสาเวสุง
เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
ปะระนิมฺมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัทฺทัง สุตฺวา
เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ พรัหมะปะริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหมปาริสัชชาได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหมปโรหิตาได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นมหาพรหมได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหมปริตตาภา ได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุงฯ
อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหมอัปมาณาภาได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหมอาภัสสราพรหมได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหมปริตตสุภาพรหมได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหมอัปปมาณสุภาพรหม ได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
สุภะกิณหะกา เทวา สัททะ มะนุสสาเวสุงฯ
สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหม สุภกิณหกาพรหมได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหมเวหัปผลาพรหมได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหมอวิหาพรหม ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสา เวสุงฯ
อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหมอตัปปาพรหมได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหมสุทัสสาพรหม ได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา
พระพรหมเหล่าชั้นพรหมสุทัสสีพรหม ได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุงฯ
พระพรหมเหล่าชั้นพรหม อกนิฎฐกาพรหม ได้ฟังเสียง ก็หยั่งเสียงให้บันลือลั่น
เอตัมฺภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมฺมะจักฺกัง ปะวัตฺติตัง อัปฺปะฏิวัตฺติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พฺรัหฺมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสฺมินฺติ
ว่านั้นจักร คือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้
อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตฺเตนะ ยาวะ พฺรัหฺมะโลกา สัทฺโท อัพฺภุคฺคัจฺฉิฯ
โดยขณะครู่เดียวนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้
อะยัญฺจะ ทะสะสะหัสฺสี โลกะธาตุ
ทั้งหมื่นโลกธาตุ
สังฺกัมฺปิ สัมฺปะกัมฺปิ สัมฺปะเวธิฯ
ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป
อัปฺปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ
ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏ แล้วในโลก
อะติกฺกัมฺเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง
ล่วงเทวานุภาพของเทพดาทั้งหลายเสียหมด
อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงเปล่งอุทานว่า
อัญญฺาสิ วะตะ โภ โกณฺฑัญฺโญ อัญญฺาสิ วะตะ โภ โกณฺฑัญฺโญ ติฯ
ว่าโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ
อิติหิทัง อายัสฺมะโต โกณฺฑัญฺญัสสะ อัญญฺาโกณฺฑัญฺโญ เตฺววะ นามัง อะโหสีติ.
เพระเหตุนั้น นามว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้นั่นเทียว ได้มีแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล
สวดมนต์แปล ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
Reviewed by
MFNews
on
10:21:00
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น :